By clicking “Accept All Cookies”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts.
Cookies Settings
ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความสำคัญ

ปัจจุบัน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิ การสูญเสียพื้นที่ป่า การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์และทรัพยากรชีวภาพมากจนเกินจุดสมดุล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคุกคามจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และมลพิษจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่ง BPP ตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ  เพื่อหลีกเลี่ยงและดำเนินการป้องกันและลดผลกระทบให้น้อยลงที่สุด  

 

แนวทางการบริหารจัดการ

BPP มีแนวทางในการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลำดับแรก กล่าวคือตั้งแต่การเลือกพื้นที่การดำเนินงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่

  • มุ่งมั่นในการดำเนินโครงการที่สร้างผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิเชิงบวก (Net Positive Impact) ในพื้นที่ดำเนินงาน โดยใช้แนวทาง 

  • หลีกเลี่ยงการดำเนินโครงการในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง 
  • ประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นในทุกหน่วยการผลิตที่ BPP มีอำนาจในการบริหารจัดการ และมีการทบทวนการประเมินเป็นประจำ หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ 
  • ดำเนินการศึกษาและประเมินคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเก็บข้อมูลและจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบก่อนเริ่มดำเนินโครงการ 
  • คำนึงถึงผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพในทุกระยะของการดำเนินโครงการ ตั้งแต่การสำรวจ การก่อสร้าง ระหว่างการดำเนินงาน และช่วงหมดอายุโครงการ 
  • ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสียว่าทุกหน่วยผลิตของ BPP จะไม่มีหน่วยธุรกิจใดตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นมรดกโลกและพื้นที่คุ้มครองโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (The International Union for Conservation of Nature :IUCN) ประเภทที่ 1-4 รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ที่จะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ตามที่ระบุไว้ในนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพ 
  • สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 
  • สนับสนุนโครงการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง
  • ติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติทั้งการพึ่งพาและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Taskforce on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) ร่วมกับกลุ่มบ้านปู เพื่อเพิ่มความโปร่งใส่ในการรายงานข้อมูล พัฒนาความสามารถในการจัดการความเสี่ยง และส่งเสริมการดำเนินงานที่ส่งผลบวกต่อธรรมชาติ เป็นต้น

การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  

BPP ประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการที่ลงทุนใหม่ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความเสี่ยงและความเป็นไปได้ของโครงการ ส่วนหน่วยธุรกิจปัจจุบัน บริษัทฯ ประเมินโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พื้นที่โดยภาพถ่ายดาวเทียม ติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย/ข้อกำหนดการใช้พื้นที่ และอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจมีผลกระทบจากโรงไฟฟ้า เป็นต้น โดยกำหนดพื้นที่ศึกษาของโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งเป็นรัศมีรอบโรงไฟฟ้า 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร รวมถึงเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสม่ำเสมอ 

 

ผลการดำเนินงาน

  • ประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพครบถ้วนทุกพื้นที่ของหน่วยธุรกิจ
  • ไม่มีหน่วยการผลิตตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
  • ไม่มีข้อร้องเรียนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

 

ตัวอย่างกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมวิญเจิว เวียดนาม

โรงไฟฟ้าพลังงานลมอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ปีก ได้แก่ นกและค้างคาว บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ จึงได้ดำเนินการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพรอบพื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมวิญเจิวในเวียดนาม เพื่อเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการ การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและหาแนวทางป้องกันและแก้ไขก่อนดำเนินการก่อสร้าง โดยมีวิธีการศึกษาวิจัย และการเก็บตัวอย่างตามมาตรฐานทางวิชาการอ้างอิง International Finance Corporation (IFC) Performance Standard 6 ประกอบด้วย

การศึกษาความหลากหลายของพืชพรรณ: ดำเนินการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ภาพถ่ายดาวเทียม และการสำรวจในพื้นที่ พบว่าพื้นที่โครงการส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำอื่นๆ พื้นที่โดยรอบเป็นป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกจากการประมง จึงพบพืชเพียง 40 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชแบบพุ่มไม้ และมี 19 สายพันธุ์ เป็นพืชในกลุ่มป่าชายเลน

การสำรวจเส้นทางการบินของนก: ดำเนินการศึกษาโดยการสำรวจในพื้นที่ทั้งในช่วงหน้าแล้งและหน้าฝน เพื่อให้ครอบคลุมชนิดพันธุ์ท้องถิ่นและนกอพยพ เส้นทางการบิน ความสูงของการบิน และความแตกต่างของชนิดพันธุ์ในฤดูกาล จากการศึกษานก 52 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่บินต่ำกว่า 35 เมตร ซึ่งเป็นความสูงต่ำสุดของใบพัด

การสำรวจค้างคาว: เนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์ที่หากินกลางคืนและพบเห็นได้ยากกว่านก ในการศึกษาจึงจำเป็นต้องใช้หลากหลายวิธี เช่น การวิจัยข้อมูลทุติยภูมิ การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้คลื่นเสียง (Mobile Acoustic Transects and Stationary Acoustic Point Count) การดักด้วยตาข่าย การสังเกตด้วยอุณหภูมิ และการสัมภาษณ์ชุมชนในการพบเห็นการทำรังในพื้นที่ เป็นต้น พบว่า สามารถจำแนกค้างคาวได้ราว 6 สายพันธุ์ จากการจำแนกด้วยคลื่นเสียง จากการดักด้วยตาข่าย 2 สายพันธุ์ และจากการสำรวจแหล่งที่อยู่ในช่วงกลางวันอีก 3 สายพันธุ์ จากการสำรวจในพื้นที่พบค้างคาวจำนวนน้อยกว่าข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งอาจเกิดจากในบริเวณพื้นที่โครงการไม่มีผลไม้และแหล่งอาหารของค้างคาว

บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพต่อไปในอนาคต

 

เอกสารดาวน์โหลด

นโยบายความหลากหลายทางชีวภาพ

รายงานการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2567

© 2025 Banpu Power Public Company Limited | บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน). All rights reserved.