
กลุ่มบ้านปูได้ออกแบบหลักสูตรเพื่อยกระดับและพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพตนเองและการทำงานร่วมกับทีมงาน เนื่องจากบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าหลักสูตรพัฒนานี้จะช่วยให้พนักงานสามารถบริหารจัดการงาน ฝึกฝนภาวะผู้นำ และพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนากระบวนการทำงาน รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของบริษัทฯ ได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เข้าอบรมที่คัดเลือกจากผู้นำในส่วนต่างๆ ขององค์กรจากทุกประเทศ การฝึกอบรมนี้ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานร่วมกันในอนาคตและเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงการดำเนินงานต่างๆ ภายในกลุ่มบ้านปู
หลักสูตรผู้นำของกลุ่มบ้านปูแบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่
- Banpu Global Leadership Program for Future Leader ซึ่งจัดให้กับผู้จัดการระดับต้น
- Banpu Global Leadership Program for First Line Leader ซึ่งจัดให้กับผู้จัดการระดับกลาง
- Banpu Global Leadership Program for Business Leader ซึ่งจัดให้กับผู้จัดการอาวุโส
- Banpu Global Leadership Program for Strategic Leader ซึ่งจัดให้กับผู้จัดการอาวุโสระดับสูง
หลักสูตรพัฒนาผู้นำของกลุ่มบ้านปูจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยใช้เวลาการอบรมประมาณ 6-8 เดือน โดยแบ่งการเรียนรู้เป็นโมดูลเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำในแต่ละระดับ ร่วมกับการเรียนรู้จากบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำควบคู่ไปกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมอบรมตลอดระยะเวลาโครงการ นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ลักษณะการทำงานและวัฒนธรรมที่หลากหลายประเทศในกลุ่มบ้านปูที่บริษัทได้เข้าไปลงทุน และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศอีกด้วย
วัตถุประสงค์
- การส่งเสริมความเป็นเลิศด้านการเป็นผู้นำ: มุ่งพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำที่แสดงถึงพฤติกรรมที่มีจริยธรรม ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว โดยการปลูกฝังคุณสมบัติเหล่านี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้นำในการแสดงความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
- การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์: การฝึกฝนทักษะขั้นสูงในการวางแผนกลยุทธ์ เครื่องมือทางการเงิน และการวิเคราะห์ตลาดให้สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูล เพื่อสร้างคุณค่าให้กับบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว
- การส่งเสริมการทำงานแบบ Agile และการร่วมมือกัน: การแลกเปลี่ยนแนวคิดนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างหน่วยธุรกิจจะช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งสามารถนำมุมมองที่หลากหลายมาใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ตำแหน่งที่มีความสำคัญมีการสืบทอดโดยพนักงานที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100
- พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มศักยภาพสูง เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100
- พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มศักยภาพสูงคงอยู่ในองค์กรร้อยละ 100

- ในปี 2567 BPP ได้พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ ด้วยการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะสำหรับพนักงานในโรงไฟฟ้ากว่า 670 คน คิดเป็นชั่วโมงการเรียนรู้มากกว่า 18,000 ชั่วโมง โดยออกแบบหลักสูตรมาเพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญและการปฏิบัติงานทางเทคนิคอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมให้พนักงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในอนาคต ครอบคลุมความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่
- ระบบการระบายไอน้ำของกังหัน (Turbine main steam extraction drain system)
- ทักษะการบำรุงรักษาปั๊มและการขัดผิวลูกปืน (Multi-stage pump maintenance and bearing grinding skills)
- หลักการของระบบควบคุมกังหันไอน้ำ (Steam turbine governing system principles)
- หลักการของปั๊มความร้อนสำหรับการดูดซับลิเธียมโบรไมด์ (Lithium bromide absorption heat pump principles)
- การใช้งานเครื่องมือการถ่วงสมดุล (Dynamic balance instrument operation)
- เทคโนโลยีการบำรุงรักษาสำหรับอุปกรณ์หมุน (Universal maintenance technology for rotating equipment)
- การเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ของไอน้ำและผลกระทบจากน้ำ (Main steam parameter change and water impact)
- การแก้ไขปัญหาระบบน้ำมันของกังหัน (Turbine oil system troubleshooting)
วัตถุประสงค์
- การเสริมสร้างทักษะในสายอาชีพและทักษะทางเทคนิคของพนักงานฝ่ายผลิตและบำรุงรักษา
- การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างพนักงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและประสิทธิผลของกระบวนการ
- การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการผลิต
ประโยชน์ที่ได้รับ
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน: การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาชีพระหว่างพนักงานช่วยเสริมสร้างการแก้ปัญหาร่วมกันและนวัตกรรม โดยมีคะแนนการทำงานร่วมกันที่ 91 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทพลังงานในจีน
- การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากร: การพัฒนาพนักงานส่งผลโดยตรงต่อการก้าวหน้าในการทำงาน ลดความจำเป็นในการจ้างงานจากภายนอก ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากอัตราการลาออกที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 10.77 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 2.51 ในปี 2567 คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลงประมาณ 55,000 เหรียญสหรัฐ
หลักสูตรการฝึกอบรมนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะและฝึกอบรมพนักงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเป็นเลิศในการดำเนินงานและการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
BPP ตระหนักถึงความสำคัญของการแบ่งปันองค์ความรู้ภายในองค์กร โดยเชื่อว่าการแลกเปลี่ยนความรู้จะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพนักงานจะช่วยเสริมสร้างการประสานงานและการประยุกต์ใช้แนวทางใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่การคิดค้นวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ส่งเสริมการเติบโตและความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว
ด้วยเหตุนี้ พนักงานในประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรมการแบ่งปันองค์ความรู้เป็นประจำทุกไตรมาส ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานจากทุกหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อนำเสนอแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ ข้อมูลด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้า, นโยบายและแนวปฏิบัติงานขององค์กร (Corporate Policies & Procedures), วิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction), แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices), การถอดบทเรียน (Lesson Learn) และ ทักษะทางเทคนิคที่ใช้ในการทำงาน (Technical Skills)
ในปี 2567 ได้จัดกิจกรรมแบ่งปันองค์ความรู้ทั้งหมด 6 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 12 เรื่อง รวมระยะเวลา 9 ชั่วโมง มีรายละเอียดดังนี้
