ความสำคัญ
บ้านปู เพาเวอร์ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain) เพราะตระหนักดีว่าการดำเนินงานของคู่ค้ามีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันและการดำเนินงานด้าน ESG ทั้งทางตรงและทางอ้อม บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดำเนินงานที่คำนึงถึง ESG ของคู่ค้าเพื่อเป็นการสานประโยชน์ร่วมกัน
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ มีแนวทางในการดำเนินงานในการบริหารจัดการคู่ค้าตามนโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน (Sustainable Supply Chain) เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้
- ดำเนินการจัดซื้ออย่างโปร่งใสและเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักจริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ
- บูรณาการเป้าหมายทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ภายใต้บรรษัทภิบาลเข้ากับกลยุทธ์ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานและนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มองหาโอกาสในการปรับปรุงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน
- ขับเคลื่อนการบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืนในหน่วยผลิตผ่านการบูรณาการมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO9001) มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO45001) และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14001)
- ทวนสอบคุณสมบัติของคู่ค้าทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกับดูแลกิจการ เพื่อที่จะสามารถระบุและจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างเหมาะสม
- ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าที่ยึดมั่นหลักจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิมนุษย์ชน และสอดคล้องกับหลักจริยธรรมในการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
- มีกระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าคู่ค้าปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดตามระเบียบท้องถิ่นและมาตรฐานแรงงานสากล อาทิ การกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก กำหนดในสัญญาการจัดซื้อจัดจ้าง และการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการของคู่ค้าที่สำคัญ เป็นต้น
- สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อพื้นที่ที่บริษัทดำเนินงาน
- จัดทำจรรยาบรรณคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) แล้วนำมาปรับใช้ โดยเริ่มจากคู่ค้าที่สำคัญก่อน (Critical Supplier)
- สนับสนุนให้คู่ค้าขยายผลนำแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนไปใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิผล
- จัดทำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานและตรวจสอบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้ามีการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรฐานและตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ การตรวจสอบที่สถานประกอบการของคู่ค้า เป็นต้น
- บริหารจัดการให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยต่อผู้รับเหมา จัดอบรมเพื่อให้ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานและมีการประเมินความเสี่ยงจากกิจกรรมการทำงานก่อนเริ่มปฏิบัติงานทุกครั้ง (Job Safety Analysis: JSA)
- ตรวจสอบประเมินผู้รับเหมาอย่างสม่ำเสมอในขณะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และการนำมาปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
- เปิดเผยการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอย่างสม่ำเสมอต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ผลการดำเนินงาน
- ไม่มีข้อร้องเรียนด้าน ESG เกี่ยวกับการบริหารจัดการคู่ค้า
- ไม่มีเหตุการณ์ที่คู่ค้าละเมิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชน แรงงาน และสิ่งแวดล้อม
- ไม่มี การเสียชีวิตจากการทำงานของคู่ค้า
- อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของคู่ค้า เป็นศูนย์
- พัฒนารายการตรวจสอบคู่ค้าด้าน ESG (Supplier ESG Checklist) เพื่อนำมาบูรณาการใช้ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างทั่วทั้งองค์กร
ตัวอย่างกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ
เอกสารดาวน์โหลด
นโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
จรรยาบรรณคู่ค้า