การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
บ้านปู เพาเวอร์ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพราะเราเชื่อว่าการเติบโตที่ยั่งยืนของบริษัทฯ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีรากฐานที่มั่นคงอันเกิดจากความไว้วางใจ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการเปิดรับมุมมองจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไปในระดับองค์กรในการดำเนินงานและการวางแผนธุรกิจ ให้บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่พัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีประโยชน์สูงสุดของทุกฝ่ายเป็นที่ตั้ง
บริษัทฯ กำหนดกรอบในการดำเนินงาน โดยอ้างอิงมาตรฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย AA 1000 Stakeholder Engagement Standard: AA1000SES โดยยึดหลักการที่สำคัญคือ
ผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญของบริษัทฯ
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย |
ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ |
ช่องทางการมีส่วนร่วม |
การดำเนินงานที่สำคัญ |
พนักงาน |
- ความก้าวหน้ามั่นคงในการทำงาน
- การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
- ความสมดุลและความสุขในการทำงานและชีวิตส่วนตัว
- สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน
|
- การสำรวจความผูกพันต่อองค์กร และ Banpu Heart
- กิจกรรมการสื่อสารภายในด้านการดำเนินงานของบริษัทฯ
|
- ระบบการบริหารงานบุคคลและการประเมินผลตามหลักจริยธรรมธุรกิจขององค์กร
- โครงการพัฒนาศักยภาพพนักงานรายบุคคลและ พัฒนาศักยภาพผู้นำ
- วัฒนธรรมองค์กร Banpu Heart
- โครงการเพื่อสร้างความสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัว เช่น Work From Home, Flexi hours
- ดำเนินงานตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน และการปรับปรุงสวัสดิการตามความเหมาะสม
|
ภาครัฐ |
- การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- การกำกับดูแลกิจการตามหลักจริยธรรมธุรกิจ
- การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ
- การบริหารจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
- การบริหารห่วงโซ่ทางธุรกิจ
|
- การรายงานการปฏิบัติตามกฎหมาย
- การตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกทั้งจากภาครัฐและเอกชน
|
- การดำเนินงานตามหลักจริยธรรมธุรกิจและขยายผลไปสู่การบริหารห่วงโซ่ทางธุรกิจ
- เป็นสมาชิกโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption: CAC)
- ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงและหน่วยงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
- ดำเนินงานตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และโครงการนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
|
ลูกค้า |
- ความพร้อมจ่ายและความมั่นคงเชื่อถือได้
- คุณภาพและราคา
|
- การประชุมร่วมเพื่อกำหนดแผนงาน ทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ตลาด เพื่อกำหนดการส่งมอบตามเป้าหมาย รับทราบปัญหา และหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข
- สายด่วน Contact Center
- การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
- เว็บไซต์
|
- โครงการนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความพร้อมจ่ายและความมั่นคงเชื่อถือได้
- การดำเนินระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
- การดำเนินงานตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001)
|
คู่ค้าและผู้รับเหมา |
- การจัดซื้อจัดจ้างและผลตอบแทน
- กระบวนการคัดเลือกอย่างเป็นธรรม
- โอกาสทางธุรกิจในการร่วมงาน
- สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน
|
- ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน
- การประชุมร่วมกับคู่ค้า
- การสำรวจความพึงพอใจ
|
- การปฏิบัติตามนโยบายห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Policy) และจรรยาบรรณคู่ค้า (Supplier Code of Conduct)
- ดำเนินงานตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ISO 45001)
|
ชุมชน |
- การจัดการและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม
|
- การประชุมร่วมกับชุมชน งานชุมชนสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน
- การจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนทางโทรศัพท์ และทางเว็บไซต์
|
- ดำเนินงานตามมาตรการลดและควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ระบบเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก
- โครงการสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
นักลงทุน ผู้ถือหุ้น ผู้ร่วมลงทุน สถาบันการเงิน |
- ผลการดำเนินงาน การพัฒนาโครงการ และการเติบโตทางธุรกิจ
- ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
|
- การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
- การนำเสนอข้อมูลเพื่อการลงทุนในวาระต่าง ๆ เช่น การประชุมรายไตรมาส การเยี่ยมเยียนเพื่อนำเสนอข้อมูลและตอบข้อซักถาม (Roadshow) เป็นต้น
- การจัดประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และนำเสนอข้อมูลในวาระต่าง ๆ
- รายงานประจำปี
- รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การสำรวจความพึงพอใจ
- เว็บไซต์
|
- การสื่อสารกลยุทธ์ ผลการดำเนินงาน การพัฒนาโครงการ และการเติบโตทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียม
|
ภาคประชาสังคม |
- การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
|
- รายงานประจำปี
- รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของบริษัท
- เว็บไซต์
|
- โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม
- การเปิดเผยข้อมูลผ่านรายงานประจำปีและรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
|
สื่อมวลชน |
- ข่าวสารความก้าวหน้าในการดำเนินงาน การพัฒนาโครงการ และผลประกอบการ
- ความโปร่งใส ทันต่อเวลา และความเท่าเทียมในการเปิดเผยข้อมูล
|
- จดหมายเวียน
- การจัดประชุมแถลงข่าว
- เว็บไซต์
|
- การเปิดเผยข้อมูลหรือความก้าวหน้าของงานอย่างทันท่วงทีและเท่าเทียมกัน
- การเยี่ยมชมสถานที่และโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ
|
Stakeholder Engagement Standard