ความสำคัญ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา หรือสีผิว การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนจึงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคม
แนวทางการบริหารจัดการ
BPP มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยมีการบริหารจัดการและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการจ้างงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ลูกค้าและผลิตภัณฑ์ ชุมชน การรักษาความปลอดภัย ผู้รับเหมาและห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งทั้งหมดนี้สนับสนุนการเติบโตอย่างมีธรรมาภิบาลและยั่งยืนขององค์กร
BPP ร่วมกับกลุ่มบ้านปูได้ประกาศแนวปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Humans Rights Due Diligence: HRDD) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการระบุ ประเมิน ป้องกัน และลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในขั้นตอนการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ และการบริการ โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวทางสากล ได้แก่ the International Human Rights Bills, the UN Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGP), OECD Due Diligence Guidelines for Responsible Business Conduct, และ the International Labor Organization’s (ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work ด้วยเหตุนี้ HRDD จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการระบุ ป้องกัน และจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทานของบริษัท โดยได้มีการปรับปรุงและอ้างอิงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และแนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ดำเนินการตามแนวทางเดียวกับระดับสากลและมีการพัฒนาแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการ HRDD ประกอบด้วย กระบวนการตรวจสอบข้อร้องเรียนและการเยียวยา ซึ่งมี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
- การระบุ ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงหรือที่อาจเกิดขึ้น
- การบูรณาการและการดำเนินการตามความเสี่ยงที่ระบุ
- การติดตามผลการดำเนินงานและการวัดผล
- การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอก
นอกจากนี้ ยังมีกลไกการตรวจสอบข้อร้องเรียน ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นข้อกังวลหรือการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านช่องทางที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ ในกรณีที่ไม่สามารถป้องกันการละเมิดได้ บริษัทฯ ได้กำหนดวิธีการเยียวยาเพื่อบรรเทาผลกระทบ ซึ่งอาจรวมถึงการชดเชย การชดใช้ หรือการเปลี่ยนแปลงในแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม
BPP จะทำการทบทวนกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน (HRDD) ทุก 3 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยจะประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ รวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย และดำเนินการปรับปรุงเมื่อจำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่มีจริยธรรม รับผิดชอบ และเคารพสิทธิมนุษยชน
ผลการดำเนินงาน
- สื่อสารเรื่องสิทธิมนุษยชนให้พนักงานทุกระดับในองค์กร ในหัวข้อ แนวทางตรวจการสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติในการประเมินผล เพื่อนำไปปฎิบัติปรับปรุงในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบในด้านสิทธิมนุษยชนในทุกๆ ด้าน
- ประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ที่โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ซึ่งบริษัทร่วมทุนของ BPP โดยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการประเมินตรวจสอบสิทธิมนุษยชนกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายนอกและภายในองค์กร เช่น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้รับเหมาและชุมชน ซึ่งครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการบริหารจัดการในเชิงรุก เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสีย จากการประเมินผลดังกล่าว พบว่า ไม่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านสิทธิมนุษชน
- นำผลการประเมิน HRDD มาพัฒนาและปรับปรุงแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การกำหนดจรรยาบรรณคู่ค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การปรับปรุงเพิ่มช่องทางสื่อสารและการรายงานข้อกังวลที่ชัดเจนและปลอดภัยสำหรับผู้มีส่วนได้เสีย และการส่งเสริมความเท่าเทียมในทุกระดับขององค์กร โดยประกาศนโยบายความเท่าเทียม เพื่อแสดงความมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในระยะยาว
- จัดทำการประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ขององค์กร โดยได้ประเมินตาม แนวทางการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการประเมินพบว่า BPP มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านสิทธิมนุษชนอยู่ในระดับต่ำ และบริษัทฯ ได้นำผลไปปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักแก่ให้พนักงานป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการบูรณาการงานด้านสิทธิมนุษยชนให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวอย่างกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ
การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
BPP กำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนที่ยึดหลักสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์โดยไม่เลือกปฏิบัติตามเพศ เชื้อชาติ ศาสนา หรือสีผิว ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับกฎหมายแรงงานและเคารพสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work: ILO) และกฎหมายแรงงานของทุกประเทศที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานด้านแรงงานกับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่ค้าทางธุรกิจ คู่ค้าชุมชน ผู้ร่วมทุน และผู้รับเหมาภายนอก ซึ่งครอบคลุมตามหลักสิทธิมนุษยชนทุกด้าน ได้แก่
- การใช้แรงงานบังคับ ไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ รวมทั้งไม่ใช้การลงโทษทางกายหรือการคุกคามจากการถูกกระทำรุนแรงเป็นมาตรการด้านระเบียบวินัยหรือการควบคุม
- การใช้แรงงานเด็ก กำหนดอายุขั้นต่ำของพนักงานที่จะว่าจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการว่าจ้างแรงงานเด็ก
- การใช้แรงงานหญิง ไม่มอบหมายให้พนักงานหญิงทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตามที่กฎหมายกำหนด และจัดให้พนักงานหญิงที่มีครรภ์ทำงานหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงจะไม่เลิกจ้าง ลดตำแหน่ง หรือลดสิทธิประโยชน์สวัสดิการต่างๆ ของพนักงานหญิงเพราะเหตุจากการมีครรภ์
- การใช้แรงงานต่างด้าว การจ้างแรงงานต่างด้าวของบริษัทฯ และคู่ค้าธุรกิจจะต้องถูกต้องตามกฎหมายทั้งในเรื่องสัญญาจ้างและใบอนุญาตทำงาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของคู่ค้าธุรกิจและบริษัทฯ ให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
- สภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตแรงงาน ส่งเสริมสภาพการจ้างงานที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน รวมถึงดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ตลอดจนการดำเนินงานตามมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมีการทบทวนระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่าสม่ำเสมอ เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสม
- เสรีภาพในการสมาคมและการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง เคารพสิทธิพนักงานและให้เสรีภาพในการเข้าร่วมสมาคม สหภาพ สหพันธ์ต่างๆ การรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง และจะไม่ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวางการใช้สิทธิของพนักงานในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน รวมทั้งให้มีการอำนวยความสะดวก และจะปฏิบัติต่อตัวแทนนั้นเท่าเทียมกับพนักงานอื่นๆ
- การสนับสนุนให้คู่ค้าทางธุรกิจและผู้รับเหมาในห่วงโซ่อุปทาน ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนรวมถึงการไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ในปี 2566 บริษัทฯ ยังได้ทำการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Impact Assessment) ภายใต้กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ในธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในเวียดนามและธุรกิจไฟฟ้าพลังงานความร้อนในไทยซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยบริษัทฯ มีการเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์กับผู้ถือครองสิทธิ์ ได้แก่ พนักงาน ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วงพนักงานรักษาความปลอดภัยและชุมชนท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้หญิง และหญิงตั้งครรภ์ จากผลการประเมินผลกระทบและพิจารณามาตรการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ พบว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการบรรเทาและลดผลกระทบ ดังนี้
เอกสารดาวน์โหลด
นโยบายสิทธิมนุษยชน
นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและต่อต้านการล่วงละเมิดของกลุ่มบ้านปู
แนวปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของกลุ่มบ้านปู