คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ประธานคณะกรรมการ)
- หัวหน้าส่วนงาน – วางแผนและวิเคราะห์ทางการเงิน
- หัวหน้าส่วนงาน – วางแผนกลยุทธ์และสนับสนุนธุรกิจ
- หัวหน้าส่วนงาน – กลยุทธ์และวิเคราะห์เชิงพาณิชย์
- หัวหน้าส่วนงาน – การเปลี่ยนผ่านพลังงาน
- หัวหน้าส่วนงาน – ปฏิบัติการธุรกิจไฟฟ้า
- หัวหน้าส่วนงาน – ตรวจสอบภายใน
- หัวหน้าส่วนงาน – บริหารพัฒนาองค์กร
- หัวหน้าส่วนงาน – เลขานุการบริษัท
- หัวหน้าส่วนงาน – ทรัพยากรบุคคล
- หัวหน้าส่วนงาน – การพัฒนาที่ยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง (เลขานุการคณะกรรมการฯ)
นโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ
นโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ กำหนดไว้ว่าจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบกับเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนและอาจก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ อันจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือแผนธุรกิจ เพื่อป้องกันบริษัทฯ จากความสูญเสีย และส่งเสริมให้บริษัทฯ สามารถตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่ผ่านเข้ามาได้เป็นอย่างดี
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
- กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง กรอบการทำงาน และกระบวนการทำงาน
- ส่งเสริมการปฏิบัติงานและการตรวจสอบกลยุทธ์และนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง
กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
—————————————————————————————————————————————————————
คณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ประธานคณะกรรมการ)
-
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – การเงิน
-
ผู้อำนวยการสายอาวุโส – ธุรกิจไฟฟ้าในจีน
-
ผู้อำนวยการสายอาวุโส – ธุรกิจไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา
-
ผู้อำนวยการสายอาวุโส – ธุรกิจไฟฟ้าในเวียดนาม
- หัวหน้าส่วนงาน – พัฒนาธุรกิจและโครงการ
- หัวหน้าส่วนงาน – ปฏิบัติการธุรกิจไฟฟ้า
- หัวหน้าส่วนงาน – บริหารสินทรัพย์และวิศวกรรม
- หัวหน้าส่วนงาน – บริหารพัฒนาองค์กร
- หัวหน้าส่วนงาน – เลขานุการบริษัท
- หัวหน้าส่วนงาน – ทรัพยากรบุคคล
- หัวหน้าส่วนงาน – การพัฒนาที่ยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง (เลขานุการคณะกรรมการฯ)
นโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทฯ
บริษัทฯ ดําเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่มุ่งสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และนําแนวปฏิบัติในระดับสากลมาปรับใช้ในการกําหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน
- กำหนดและทบทวนนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) รวมทั้งนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กำกับดูแลและนำนโยบายด้านความยั่งยืนและกลยุทธ์ด้าน ESG ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ
- ทบทวนกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียและผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
- ทบทวนเป้าหมายและผลการดำเนินงานด้าน ESG
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน
—————————————————————————————————————————————————————