By clicking “Accept All Cookies”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts.
Cookies Settings
คุณภาพอากาศ

ความสำคัญ

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และปริมาณฝุ่นละออง เป็นดัชนีชี้วัดด้านคุณภาพอากาศที่สำคัญจากการผลิตไฟฟ้าของ BPPได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากปริมาณมลสารที่สูงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐจึงให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ที่มีปริมาณมลภาวะทางอากาศสูง เช่น ในจีนได้มีการกำหนดมาตรฐานและมาตรการป้องกันคุณภาพอากาศที่เข้มงวดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี นับเป็นความท้าทายที่ BPP ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการดักจับมลสารอย่างต่อเนื่อง และควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกให้มีมลสารน้อยที่สุด เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด สร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมและชุมชนในพื้นที่

 

แนวทางการบริหารจัดการ

BPP มีมาตรการในการควบคุมคุณภาพอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของพนักงานและชุมชนรอบพื้นที่โครงการ ได้แก่

  • ลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดอัตราการปล่อยมลสาร
  • ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงระบบการดักจับมลสารก่อนปล่อยออกจากปล่องอย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization: FGD) และระบบดักจับฝุ่น เช่น เครื่องดักจับฝุ่นด้วยไฟฟ้า (Electrostatic Precipitator) และเครื่องกรองฝุ่นแบบถุง (Bagfilter) เป็นต้น
  • เลือกใช้ถ่านหินที่มีปริมาณกำมะถันต่ำ เพื่อลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่แหล่งกำเนิด นอกจากนี้ BPP ยังหาโอกาสในการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวในแหล่งถ่านหินที่มีคุณภาพตามที่กำหนด และมีการเปิดการเสนอซื้อขายด้วยระบบออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าถ่านหินได้เสนอถ่านหินที่มีคุณภาพตรงตามที่ต้องการ
  • นำเทคโนโลยีที่สะอาดมาช่วยในการเผาไหม้ในหม้อต้มให้สมบูรณ์ เช่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (HELE) การนำเทคโนโลยีสะอาดขณะเผาไหม้ในหม้อต้มไอน้ำแบบ Pulverized Fuel Combustion และ Fluidized Bed Combustion มาใช้เพื่อลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละอองขณะเผาไหม้ เป็นต้น
  • มีระบบการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศปล่อยออกแบบต่อเนื่องตลอดเวลาการดำเนินการผลิตไฟฟ้า กำหนดมาตรการป้องกัน และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกอย่างสม่ำเสมอ
  • ประเมินและบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข เช่น ความเสี่ยงจากอุปกรณ์เครื่องจักรไม่สมบูรณ์ ความเสี่ยงจากคุณภาพถ่านหิน ความเสี่ยงจากสภาพอากาศและอุณหภูมิตามฤดูกาล เป็นต้น
  • นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาระบบการดำเนินงานในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมหลวนหนาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานโดยการควบคุมค่าออกซิเจนที่เหมาะสมในกระบวนการเผาไหม้ ซึ่งช่วยควบคุมมลสารให้อยู่ในระดับต่ำ

 

ผลการดำเนินงาน

  • คุณภาพอากาศจากปล่องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  • อัตราการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 0.089 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
    • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 0.0173 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
    • โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 0.0022 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
  • อัตราการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน 0.0305 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
    • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 0.0367 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
    • โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 0.0255 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
  • อัตราการปล่อยฝุ่นละออง 0.0127 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
    • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 0.0018 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง
    • โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 0.0212 กิโลกรัม/เมกะวัตต์–ชั่วโมง

 

ตัวอย่างกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ

การใช้ Digital Twins เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดมลสารในอากาศ 

เนื่องจากระบบการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าหลวนหนานในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ความท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งคือการปรับค่าตัวแปรการดำเนินการผลิตไฟฟ้า ซึ่งประสิทธิภาพของการดำเนินการผลิตจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการผลิตของโรงไฟฟ้า 

โรงไฟฟ้าหลวนนานจึงได้ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบ Digital Twins ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถกำหนดตัวแปรในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client), การประมวลผลข้อมูที่จุดปลายของเครือข่าย (Edge computing), ระบบคลาวด์ (Cloud computing) ชุดข้อมูลการดำเนินการผลิตขนาดใหญ่ (Big Data) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึ่งระบบ Digital Twins สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า โดยการควบคุมค่าออกซิเจนที่เหมาะสมในกระบวนการเผาไหม้ ทำให้การเผาไหม้ในหม้อต้มไอน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้ลดปริมาณการปล่อยมลสาร ได้แก่ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนลดลงร้อยละ 17 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลดลงร้อยละ 19 และฝุ่นละอองลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานปี 2565 รวมถึงลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพอากาศ ได้แก่ ยูเรียและหินปูนได้ถึง 580 ตัน หรือลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 26,290 เหรียญสหรัฐในปี 2566 

จากผลการดำเนินงานนี้ ทำให้บริษัทมั่นใจในการดำเนินงานตามกฏหมายควบคุมคุณภาพอากาศของรัฐ ลดความเสี่ยงด้านคุณภาพอากาศ บทปรับ และข้อร้องเรียนจากชุมชนรอโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังสามารถลดการใช้ถ่านหินได้ถึง 8,658 ตัน หรือลดต้นทุนเชื้อเพลิงได้ประมาณ 1,323,150 เหรียญสหรัฐในปี 2566 อีกทั้งยังสร้างศักยภาพและทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีของพนักงาน และสามารถขยายผลไปยังโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอื่นได้ 

© 2025 Banpu Power Public Company Limited | บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน). All rights reserved.