BPP พิจารณาประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อใช้ในการจัดลำดับความสำคัญ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วางกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและกำหนดเป้าหมายในช่วงปี 2564 – 2568 ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ Beyond Quality Megawatts โดยวางแผนการดำ เนินงาน กำหนดตัวชี้วัดอย่างเหมาะสม และติดตามความคืบหน้าและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ทั้งจากหน่วยงานในระดับหน่วยธุรกิจ คณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการ ESG ไปจนถึงคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับสากลยังได้นำ มาพิจารณา เพื่อวางแผนการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ
ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นไปตามมาตรฐานสากล และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างครบถ้วน
BPP ประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำ คัญโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล ได้แก่ Global Reporting Initiative (GRI) และ AA1000 AccountAbility Principles (AA1000AP) โดยพิจารณาจากความสำ คัญต่อบริษัทฯ และความสำคัญ ต่อผู้มีส่วนได้เสียที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environment, Social and Governance: ESG) ซึ่งได้รับการทบทวนจากคณะกรรมการ ESG เป็นประจำทุกปี
โดยแหล่งที่มาของประเด็นด้านความยั่งยืน ได้แก่
- ประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กรจากระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
- แนวโน้มหรือทิศททางการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจพลังงาน
- กฏหมายที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
- แนวปฏิบัติและมาตรฐานการดำเนินงานด้าน ESG
- แนวปฏิบัติและมาตรฐานการดำเนินงานที่ดีในธุรกิจไฟฟ้าและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการประเมินประเด็นที่สำคัญ
1. ระบุประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจากแหล่งที่มาต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยการรวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ความเสี่ยงที่สำ คัญขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เช่น
- ผลการประเมินความเสี่ยงจากระบบการบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กร (Enterprise Risk Management) ซึ่งมีการรวบรวมความเสี่ยงจากทุกหน่วยธุรกิจ แล้วนำมาสรุปเป็นความเสี่ยงขององค์กรทุกไตรมาส
- ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในระดับสากล อาทิ แบบสอบถามประเมินความยั่งยืน และสถาบันการเงิน
- ผลการเข้าพบชี้แจงโครงการและรับฟังข้อเสนอแนะจากหน่วยงานราชการ
- ผลการเข้าพบชี้แจงและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ร่วมทุน หน่วยงานกำกับดูแล ที่ปรึกษา คู่ค้า ลูกค้า และสถาบันการเงิน
- ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียที่ทำงานร่วมกับบริษัทฯ โดยส่งแบบสำรวจออนไลน์ให้แก่ผู้ร่วมทุน หน่วยงานกำกับดูแล ที่ปรึกษา คู่ค้า และสถาบันการเงิน
- ผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
- ผลการประชุมเพื่อชี้แจงความก้าวหน้าของบริษัทฯ และรับฟังความคิดเห็น เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น และการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
- ผลการติดตามตรวจสอบแนวโน้มนโยบาย กฎหมาย และความคาดหวัง ด้าน ESG ในระดับท้องถิ่นและระดับสากล
- ผลการสำรวจคะแนนความผูกพันต่อองค์กร คะแนนวัฒนธรรมองค์กร บ้านปู ฮาร์ท และข้อคิดเห็นของพนักงาน ทั้งจากการสำรวจโดยที่ปรึกษาภายนอกในรูปแบบออนไลน์ และการจัดประชุมกลุ่มย่อยภายในองค์กร
- ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญภายนอก
2. จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่สำคัญ
2.1 ระบุความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ในแต่ละประเด็นความยั่งยืน โดยประเมินจากโอกาสในการเกิดและระดับของผลกระทบต่อบริษัทฯ ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงขององค์กร โดยพิจารณาเกณฑ์การประเมินระดับผลกระทบทั้งหมด 10 ด้าน แล้วนำระดับของผลกระทบที่มากที่สุดเป็นตัวแทนในการจัดลำดับความสำคัญ
2.2 ระบุความสำคัญของแต่ละประเด็นต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยประเมินระดับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ซึ่งมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญในแต่ละประเด็นที่ได้รับผลกระทบ ทั้งทางบวกและทางลบจากการดำเนินงานของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ ผลกระทบต่อทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และทุนมนุษย์ ที่มีการบูรณาการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
3. ทบทวนประเด็นที่สำ คัญโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นในการปรับปรุงการประเมินประเด็นที่สำคัญจากมุมมองของฝ่ายบริหารเพื่อให้ครอบคลุมผลกระทบด้านการเงินและกลยุทธ์องค์กรได้ครอบคลุมการดำเนินงานในปัจจุบันและอนาคต
4. พิจารณาให้ความเห็นชอบประเด็นที่สำคัญโดยคณะกรรมการ ESG ซึ่งเป็นคณะกรรมการย่อยในระดับคณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลด้านความยั่งยืน โดยคณะกรรมการ ESG ประกอบด้วยกรรมการอิสระ จำนวน 3 ท่าน ที่มีความรู้และประสบการณ์ทำ งานจากภายนอกองค์กร
นอกจากนี้ ผลการประเมินการจัดลำ ดับความสำ คัญของประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญยังได้นำไปสื่อสาร และรับทราบความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาภายนอกองค์กร เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการประเมินอย่างรอบด้านและครบถ้วน
ผลการประเมินประเด็นที่สำคัญ