By clicking “Accept All Cookies”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts.
Cookies Settings
การบริหารจัดการความเสี่ยง

ความสำคัญ

ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social and Governance: ESG) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยงถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำกับดูแลกิจการ และเป็นกลไกสำคัญที่บริษัทฯใช้ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันความสูญเสียและการเติบโตอย่างมั่นคง ทั้งด้านกลยุทธ์ การลงทุน การดำเนินการก่อสร้างโครงการและการดำเนินงานผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับองค์กร และระดับหน่วยธุรกิจ ดังนี้

  • การบริหารความเสี่ยงระดับหน่วยธุรกิจ: เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสามารถติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด ผู้จัดการความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์ทำหน้าที่วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในสินทรัพย์นั้นๆ รายงานความคืบหน้า และผลการปฏิบัติงานด้านความเสี่ยง ให้แก่หน่วยงานความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง(Sustainable Development and Risk Management) ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมและจัดทำสรุปรายงานความเสี่ยง แต่ละสินทรัพย์ เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)
  • การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร: อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) ผ่านทางคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Committee) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)

โดยบทบาทของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ครอบคลุมถึงเรื่องการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย ปรับปรุงบทบาทหน้าที่ของการจัดการความเสี่ยงระดับปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social and Governance: ESG) ซึ่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประกอบไปด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

  1. ประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
  2. การให้ความสนับสนุนในเชิงนโยบายเพื่อให้การจัดการความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการตระหนักถึงความเสี่ยงในการดำเนินการกิจกรรมใดๆ ของบริษัทฯ
  3. การให้การสนับสนุนในเรื่องของทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกที่จำเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ

บริษัทฯ ได้มีการประกาศนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงและมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อประสานงานกับทุกหน่วยงาน เพื่อผลักดันให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร มีกลไกในการค้นหาและระบุประเด็น ความเสี่ยงที่สำคัญของธุรกิจที่ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ในกระบวนการจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทฯ และเชื่อมโยงกับบริบทด้านการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กรโดยประเมินถึงโอกาสเกิดและผลกระทบที่อาจมีต่อผู้มีส่วนได้เสียเพื่อพิจารณาความสำคัญ ก่อนกำหนดเป็นรายการความเสี่ยงองค์กร และมอบหมายผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ รวมถึงมีการติดตามความก้าวหน้าและทบทวนประเด็นความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้บูรณาการหลักการบริหารความเสี่ยงเข้ากับกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อสร้างความตระหนักถึงความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประชุมเพื่อติดตามความเสี่ยงและผลการบริหารจัดการตามแผนบรรเทาความเสี่ยง รวมทั้งรายงานผลการสอบทานระบบการบริหารความเสี่ยงแก่คณะกรรมการตรวจสอบภายในและคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกไตรมาส

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการความเสี่ยง บริษัทฯ ได้ผนวกการบริหารจัดการความเสี่ยงเข้ากับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืนและครอบคลุมเรื่อง ESG โดยใช้หลักการการบริหารความเสี่ยงแบบสหพันธ์ (Risk Correlation) มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงแต่ละประเด็นให้ครอบคลุมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ เริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ตามแผนการดำเนินธุรกิจและแยกย่อยกระจายไปสู่ระดับหน่วยธุรกิจ ฝ่าย แผนกและหน่วย โดยการระบุความเสี่ยง จะให้พนักงานระดับปฏิบัติงานซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในกิจกรรมนั้นๆ ระบุความเสี่ยงจากผู้ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนของตนเองอย่างละเอียด โดยจะทำการประเมินความน่าจะเป็นและผลกระทบจากความเสี่ยงนั้นๆ พร้อมทั้งจัดเตรียมแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และรายงานให้ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าได้รับทราบและติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง และส่งรายงานดังกล่าวมายังหน่วยงานความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงเพื่อรวบรวมเป็นรายงานความเสี่ยงในระดับองค์กร แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารทุกไตรมาส นอกจากนี้ คณะกรรมการ ESG ยังมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลความเสี่ยงด้าน ESG

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ผลการผนวกการบริหารความเสี่ยงเข้ากับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถส่งเสริมกลยุทธ์การดำเนินการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ในด้านการลงทุนในธุรกิจใหม่ บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงด้านผลตอบแทนจากการลงทุนและประเด็น ESG อย่างรอบด้านในแต่ละโครงการ เพื่อนำเสนอผลการประเมินและแผนการจัดการต่อคณะกรรมการพิจารณาการลงทุน (Investment Committee) เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของบริษัทฯ มีการประเมินและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

ผลการดำเนินงาน

  • มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงครอบคลุมทุกหน่วยธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 100
  • สัดส่วนความครอบคลุมของระบบการบริหารความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ESG คิดเป็นร้อยละ 98

 

ตัวอย่างกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ

 

เอกสารดาวน์โหลด

นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ประกาศแต่งตั้ง Global Information Security Officer (GISO) ของกลุ่มบ้านปู

Risk Management Committee Charter

Risk Appetite Policy

© 2024 Banpu Power Public Company Limited | บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน). All rights reserved.